พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
หลวงพ่อพระเสริม...
หลวงพ่อพระเสริม วัดประทุมวราราม ปี 2530 หน้าตัก 5 นิ้ว ((เฉลิมพระเกียรติ ร.9 และวัดประทุมวราราม ครบรอบ 130 ปี)) ผิวหิ้ง
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อพระเสริม วัดประทุมวราราม ปี 2530 หน้าตัก 5 นิ้ว
รายละเอียด เฉลิมพระเกียรติ ร.9 และวัดประทุมวรารามเจริญครบรอบ 130 ปี
คิดว่ารุ่นนี้น่าจะเป็นรุ่นแรกของวัดครับ เท่าที่ทราบเก่ากว่านี้ก็ยังไม่เคยเจอ หายากมากไม่ค่อยได้เจอครับ
เนื้อโลหะผิวหิ้ง มีเหรียญตราวัดติดอยู่ *** รายการนี้ท่านใดประมูลได้ผมลดให้ 300 แต่ต้องนำพระไปออกบัตรเองครับ ส่งไปส่งมาเกรงพระจะเสียหาย *** รับประกันพระแท้ตามกฏกติกา *** คราวที่แล้วได้นำมาลงไว้ครั้งนึงแล้วครับ แต่ลืมใส่ขนาดของพระเลยไม่ค่อยมีคนเคาะ ครั้งนี้เลยนำมาลงใหม่ ท่านใดชอบเชิญครับ เฉพาะชื่อพระเสริม ก็เป็นศิริมงคลอย่างยิ่งแล้วครับ เสริมทุกอย่างให้ดีขึ้น ผมได้นำประวัติมาให้อ่านกันตามนี้เลยครับ
ประวัติ พระเสริม (หลวงพ่อพระเสริม) วัดปทุมวนาราม
ประวัติ พระเสริม (หลวงพ่อพระเสริม) วัดปทุมวนารามพระเสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระใส พระเสริม วัดปทุมวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ "พระเสริม"ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต
ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต หล่อขึ้นจากทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก) เมื่อราวปี พ.ศ.2109 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมด้วยพระธิดา 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร
แต่วันนั้น ญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์
พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง
สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาวในยุคนั้น
ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว
ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมือง เวียงจันทน์ หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพ ร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้รื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์
ในที่สุด ทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกด รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย
ส่วนการ อัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง
เมื่อ ถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนักแพที่ประดิษฐานพระสุกแตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย
พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง (เหม็น) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร
เมื่อ ครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน
ส่วนพระเสริม อัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจาก หนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อน รับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม
ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ตราบจนถึงทุกวันนี้
ผู้เข้าชม
425 ครั้ง
ราคา
โชว์ๆๆๆ
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ยิ้มสยาม573
ชื่อร้าน
ยิ้มสยาม573
ร้านค้า
yimsiam573.99wat.com
โทรศัพท์
0877888409
ไอดีไลน์
0877888409
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
737-2-422xx-x
เหรียญพระพุทธชินราช มั่นในธรร
เหรียญหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิม
รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงปู่จั
เหรียญหลวงปู่ไต้ฮงกง มูนิธิป่อ
พระกรุวัดเงินคลองเตย พิมพ์ซุ้ม
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเปิ่น ว
สมเด็จจิ๋ว หลวงพ่อโอด วัดจันทร
เหรียญน้ำเต้า หลวงปู่เอี่ยม ปฐ
เหรียญพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
termboon
ep8600
chathanumaan
hra7215
mon37
ว.ศิลป์สยาม
vanglanna
someman
จิ๊บพุทธะมงคล
Zomlazzali
TotoTato
fuchoo18
somphop
ปราสาทมรกต
หริด์ เก้าแสน
แมวดำ99
ยุ้ย พลานุภาพ
ponsrithong2
santione007
Joker Tanakron
ภูมิ IR
warunyu
NongBoss
Erawan
เปียโน
chaithawat
นานา
moshy2499
boonyakiat
Lovaza
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1040 คน
เพิ่มข้อมูล
หลวงพ่อพระเสริม วัดประทุมวราราม ปี 2530 หน้าตัก 5 นิ้ว ((เฉลิมพระเกียรติ ร.9 และวัดประทุมวราราม ครบรอบ 130 ปี)) ผิวหิ้ง
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
หลวงพ่อพระเสริม วัดประทุมวราราม ปี 2530 หน้าตัก 5 นิ้ว ((เฉลิมพระเกียรติ ร.9 และวัดประทุมวราราม ครบรอบ 130 ปี)) ผิวหิ้ง
รายละเอียด
ชื่อพระเครื่อง หลวงพ่อพระเสริม วัดประทุมวราราม ปี 2530 หน้าตัก 5 นิ้ว
รายละเอียด เฉลิมพระเกียรติ ร.9 และวัดประทุมวรารามเจริญครบรอบ 130 ปี
คิดว่ารุ่นนี้น่าจะเป็นรุ่นแรกของวัดครับ เท่าที่ทราบเก่ากว่านี้ก็ยังไม่เคยเจอ หายากมากไม่ค่อยได้เจอครับ
เนื้อโลหะผิวหิ้ง มีเหรียญตราวัดติดอยู่ *** รายการนี้ท่านใดประมูลได้ผมลดให้ 300 แต่ต้องนำพระไปออกบัตรเองครับ ส่งไปส่งมาเกรงพระจะเสียหาย *** รับประกันพระแท้ตามกฏกติกา *** คราวที่แล้วได้นำมาลงไว้ครั้งนึงแล้วครับ แต่ลืมใส่ขนาดของพระเลยไม่ค่อยมีคนเคาะ ครั้งนี้เลยนำมาลงใหม่ ท่านใดชอบเชิญครับ เฉพาะชื่อพระเสริม ก็เป็นศิริมงคลอย่างยิ่งแล้วครับ เสริมทุกอย่างให้ดีขึ้น ผมได้นำประวัติมาให้อ่านกันตามนี้เลยครับ
ประวัติ พระเสริม (หลวงพ่อพระเสริม) วัดปทุมวนาราม
ประวัติ พระเสริม (หลวงพ่อพระเสริม) วัดปทุมวนารามพระเสริม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 นิ้ว สร้างขึ้นพร้อมกับพระสุก พระใส พระเสริม วัดปทุมวนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ "พระเสริม"ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต
ถือเป็นพระพุทธรูป 3 พี่น้องแห่งกรุงศรีสัตนา คนหุต หล่อขึ้นจากทองสีสุก (โลหะสำริดที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก) เมื่อราวปี พ.ศ.2109 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง พร้อมด้วยพระธิดา 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า พระธิดาเสริม พระธิดาสุก และพระธิดาใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร
แต่วันนั้น ญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์
พระธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระธิดาองค์สุดท้อง
สมเด็จกรมพระยาดำรง ราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า พระเสริม พระสุก พระใส เป็นพระพุทธรูปลาวล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักร ล้านช้างและต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาวในยุคนั้น
ในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพเป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว
ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมือง เวียงจันทน์ หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพ ร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้รื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์
ในที่สุด ทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกด รวมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย
ส่วนการ อัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์ มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปในถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขาควาย เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง
เมื่อ ถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย) เกิดพายุฝนตกหนักแพที่ประดิษฐานพระสุกแตก ส่งผลให้พระสุกจมหายไปในกระแสน้ำ ส่วนพระเสริมและพระใสได้อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย
พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง (วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง (เหม็น) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร
เมื่อ ครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน
ส่วนพระเสริม อัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อครั้งที่มีการแห่พระเสริมจาก หนองคาย เข้าเขตพระนครในยุคนั้น ชาวลาวล้านช้างที่ถูกต้อนมาอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ต่างได้ทำริ้วขบวนแห่ต้อน รับ จัดทำพานบายศรีและเครื่องบูชาเพื่อบูชาพระเสริม
ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม ตราบจนถึงทุกวันนี้
ราคาปัจจุบัน
โชว์ๆๆๆ
จำนวนผู้เข้าชม
426 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ยิ้มสยาม573
ชื่อร้าน
ยิ้มสยาม573
URL
http://www.yimsiam573.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0877888409
ID LINE
0877888409
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกสิกรไทย / 737-2-422xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี